วันจันทร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2556

Chapter 2 E-business Infrastructure

E-Business Infrastructure
หมายถึง การรวมกันของฮาร์ดแวร์เช่น Server, Client PC ในองค์กรรวมถึงการใช้เครือข่ายในการเชื่อมโยงฮาร์ดแวร์เหล่านี้และการใช้งานซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการส่งมอบบริการให้กับผู้ใช้งานที่อยู่ในบริษัทและยังรวมถึงคู่ค้าและลูกค้าของตน ซึ่งคำว่า Infrastructure ยังรวมไปถึงสถาปัตยกรรมทางด้าน Hardware , Software และ เครือข่าย ที่มีอยู่ในบริษัทด้วย และท้ายที่สุด ยังรวมไปถึง กระบวนการในการนำเข้าข้อมูลและเอกสารเข้าสู่ระบบ E-business ด้วย


5 Layer ของ E-Business Infrastruture

  1. E-business service applications layer ชั้นของแอปฟลิเคชั่น คือ ชั้นของโปรแกรม ต่างๆ จะเป็นการใช้แอปฟลิเคชั่น โดยไม่สนใจซอฟต์แวร์
  2. System Software layer การนำโปรแกรมที่มาใช้งานให้ประสบความสำเร็จในชั้นที่ 1 เป็นเรื่องของการจัดการซอฟต์แวร์ 
  3. Transport or Network layer เป็นชั้นที่ใช้ในการสื่อสาร เช่น พวกโปรโตคอลต่างๆ ประสานงานกับเครื่องแม่ข่ายกับลูกข่าย
  4. storage/Physical layer เป็นชั้นที่ใช้เก็บพวกข้อมูลต่างๆ เช่น ฮาร์ดดิกส์ แรม ว่าเก็บข้อมูลไว้ในส่วนไหน เมื่อไหร่ อย่างไร ใช้อะไรเก็บ
  5. Content and Data layer ชั้นนี้เกี่ยวข้องกับพวก อินเตอร์เน็ต เอ็กทราเน็ต อินทราเน็ต
Key management issues of e-business infrastructure 
  1. ประเภทของ E-business ที่เกี่ยวข้องกับแอปฟลิเคชั่่น เช่น กาจัดซื้อจัดจ้าง การรักษาความปลอดภัยของการจัดซื้อ การบริหารจัดการลูกค้าสัมพันธ์ เป็นต้น
  2. ใช้เทคโนโลยีอะไรเพื่อให้ถึงเป้าหมาย เช่น e-mail เป็นต้น
  3. ทำอย่างไรเพื่อจะให้บริการต่างๆ มีประสิทธิภาพ 
  4. จะนำบริการนี้ไปติดตั้งไว้ที่ไหนอย่างไร 
    4.1 เอาไปติดตั้งที่เครื่อง server เอง
    4.2 ใช้บริการบริษัทภายนอกองค์กร
Internet technology
Internet ช่วยให้การสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์หลายล้านเครื่องที่เชื่อมต่อทั่วโลก แต่ในการถ่ายโอนข้อมูลนั้นไร้รอยต่อของวิธีการเหมือนไม่มีอะไร เกิดขึ้น การร้องของข้อมูลจะถูกส่งจากคอมพิวเตอร์ไคลเอนต์และอุปกรณ์มือถือที่มีผู้ใช้ร้องขอการบริการให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์ที่เก็บข้อมูลโปรแกรมประยุกต์ทางธุรกิจและโฮสต์ที่ส่งมอบการบริการในการตอบสนองต่อการร้องขอ ดังนั้นอินเทอร์เน็ตจึงเป็นระบบเขนาดใหญ่ในรูปแบบ Client / Server  

Intranet applications 
ประโยชน์ของ อินทราเน็ต 
  1. วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ลดลง 
  2. ลดค่าใช้จ่ายและผลผลิตดีขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น 
  3. การให้บริการลูกค้าสะดวกมากขึ้น 
  4. กระจายข้อมูลข่าวสารต่างๆ ได้รวดเร็วมากขี้น ลดข้อจำกัด     ด้านสถานที่    

Extranet applications


เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ช่วยให้การเข้าถึงข้อมูลโดยควบคุมจากภายนอกองค์กร สำหรับธุรกิจที่เฉพาะเจาะจง





Firewalls

ใช้ป้องกันการโจมตีจากผู้ไม่ประสงค์ดีจากภายนอก มีทั้งการโจมตีด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ เว็ปที่ใช้ในการทดสอบ browser compatibility คือ browsershots.org เว็ปที่ใช้ทดสอบการแสดงผลหน้าจอบนเว็ปต่างๆ คือ ViewLike.us





Web technology


 
web คือ ขั้นตอนมาตรฐานในการแลกเปลี่ยนข้อมูล ข้อมูลสาธารณะบนโลกอินเทอร์เน็ตโดยรูปแบบเอกสารพื้นฐานคือ HTML (Hypertext Markup Language) หรือ การบริการหนึ่งในรูปแบบต่างๆของการให้บริการของอินเตอร์เน็ตสำหรับผู้พัฒนาเว็บ หรือผู้ที่ต้องการเขียนโปรแกรมเพื่อติดต่อสื่อสารผ่านเว็บ หรือ อินเตอร์เน็ต แล้วจะต้องรู้และเข้าใจเรื่องเกี่ยวกับโปรโตคอล


Web browsers and servers

เว็บเบราว์เซอร์ (web browser) เบราว์เซอร์ หรือ โปรแกรมดูเว็บ คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเวบที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาเอชทีเอ็มแอล (html) ที่จัดเก็บไว้ที่ระบบบริการเว็บหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์ หรือระบบคลังข้อมูลอื่น ๆ โดยโปรแกรมค้นดูเว็บเปรียบเสมือนเครื่องมือในการติดต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่า เวิลด์ไวด์เว็บ







เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web Server) 
คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งให้บริการที่เก็บเว็บไซต์ (Server) แล้วให้ผู้ใช้ (Client) เรียกชมหน้าเว็บไซต์ได้โดยใช้โพรโทคอล HTTP ผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์


Internet Forum
  1. ทำหน้าที่คล้าย bulletin board และ newsgroup
  2. มีการรวบรวมข้อมูลทั่ว ๆไป เช่น เทคโนโลยี, เกม,คอมพิวเตอร์, การเมือง ฯลฯ
  3. ผู้ใช้สามารถโพสหัวข้อลงไปในกระดานได้
  4. ผู้ใช้คนอื่นๆ ก็สามารถเลือกดูหัวข้อหรือแม้กระทั่งโพสความคิดเห็นของตนเองลงไปได้
Wiki
  1. Wiki อ่านออกเสียง "wicky", "weekee" หรือ "veekee"
  2. สามารถสร้างและแก้ไขหน้าเว็บเพจขึ้นมาใหม่ผ่านทางบราวเซอร์ โดยไม่ต้องสร้างเอกสาร html เหมือนแต่ก่อน
  3. Wiki เน้นการทำระบบสารานุกรม, HOWTOs ที่รวมองค์ความรู้หลายๆ แขนงเข้าไว้ด้วยกันโดยเฉพาะ



Folksonomy

folksonomy หรือ ปัจเจกวิธาน คืออนุกรมวิธานที่ผู้ใช้สร้างขึ้นเอง ซึ่งใช้ในการแบ่งหมวดหมู่และค้นคืน หน้าเว็บ รูปภาพ ตัวเชื่อมโยงเว็บ และ เนื้อหาบนเว็บอื่นๆ โดยใช้กินติดป้ายที่ ไม่จำกัดข้อความ โดยปกติโฟล์กโซโนมีทำงานผ่านอินเทอร์เน็ต อย่างไรก็ตามอาจจะถูกนำไปใช้ในบริบทอื่นเช่นกัน กระบวนการการติดป้ายแบบโฟล์กโซโนมีเจตนาที่จะเพิ่มความง่ายในการค้นหา ค้นพบ และหาตำแหน่ง เมื่อเวลาผ่านไป โฟล์กโซโนมีที่พัฒนาขึ้นมาอย่างดีตามหลักการแล้วสามารถใช้เป็นรายการคำศัพท์ที่ใช้ร่วมกัน ซึ่งสร้างขึ้นมาโดยผู้ใช้อันดับแรก และเป็นที่คุ้นเคยสำหรับผู้ใช้อันดับแรก เว็บไซต์ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดสองแห่งที่ใช้การติดป้ายแบบโฟล์กโซโนมีคือ ฟลิคเกอร์ และ del.icio.us อย่างไรก็ตามมีการชี้ประเด็นว่า ฟลิคเกอร์ ไม่ใช่ตัวอย่างที่ดีของ'โฟล์กโซโนมี

เนื่องจากโฟล์กโซโนมีพัฒนาขึ้นในสิ่งแวดล้อมทางสังคมที่ใช้อินเทอร์เน็ตเป็น สื่อกลาง โดยทั่วไปแล้วผู้ใช้จึงสามารถค้นพบได้ว่าใครเป็นผู้ติดป้ายโฟล์กโซโนมี และสามารถดูได้ว่าผู้ใช้คนอื่นสร้างป้ายอะไรขึ้นมาบ้าง


TCP/IP

TCP/IP (Transmitsion Control Protocol/Internet Protocol) เป็นชุดของโปรโตคอลที่ถูกใช้ในการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สามารถใช้สื่อสารจากต้นทางข้ามเครือข่ายไปยังปลาย ทางได้ และสามารถหาเส้นทางที่จะส่งข้อมูลไปได้เองโดยอัตโนมัติ ถึงแม้ว่าในระหว่างทางอาจจะผ่านเครือข่ายที่มีปัญหา โปรโตคอลก็ยังคงหาเส้นทางอื่นในการส่งผ่านข้อมูลไปให้ถึงปลายทางได้


Domain Names 

คือ ชื่อเว็บไซต์ (www.yourdomain.com) ที่สามารถเป็นเจ้าของ ซึ่งจะต้องไม่ซ้ำกับคนอื่น เพื่อการเรียกหาเว็บไซต์ที่ต้องการ “ชื่อเว็บไซต์” คือ สิ่งแรกที่แสดง หรือประกาศความมีตัวตนบนอินเตอร์เน็ตให้คนทั่วไปได้รู้จัก สามารถมีได้ชื่อเดียวในโลกเท่านั้น เช่น www.gict.co.th เมื่อผู้ใช้กรอกชื่อลงไปในช่อง Address ของ Web Browser ก็จะส่งชื่อไปร้องถามจากเครื่องแปลชื่อโดเมน (Domain Name Server) และได้รับกลับมาเป็นไอพีแอดเดรส (Internet Protocol) แล้วส่งคำร้องไปให้กับเครื่องปลายทางตามไอพีแอดเดรส และได้ข้อมูลกลับมาตามรูปแบบที่ร้องขอไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น