วันอังคารที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

Chapter 9 E-Government

E-Government 
 
ความหมาย e-government
 e-government หรือรัฐอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วยหลักการที่เป็นแนวทาง 4 ประการ คือ
     1.สร้างบริการตามความต้องการของประชาชน
     2.ทําให้รัฐและการบริการของรัฐเข้าถึงได้มากขึ้น
     3.เกิดประโยชน์แก่สังคมโดยทั่วกัน
     4.มีการใช้สารสนเทศที่ดีกวาเดิม
 
นโยบาย e-Government

 e-government คือ วิธีการบริหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่ที่เน้นการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และ เครือข่ายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของผลงานของภาครัฐ และปรับปรุงการบริการแก่ประชาชน และการบริการด้านข้อมูลเพื่อเพิ่มอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และทําให้ประชาชนมีส่วนร่วมกับรัฐมากขึ้น โดยการใช้เทคโนโลยีจะนํามาใช้เพื่อเพิ่มศักยภาพของการเข้าถึง และการให้บริการของรัฐ โดยมุ่งเป้าไปที่กลุ่มคน 3 กลุ่ม คือ ประชาชน ภาคธุรกิจและข้าราชการเอง ผลพลอยได้ที่สําคัญที่เราจะได้รับคือความโปร่งใสที่ดีขึ้นอันเนื่องมากจาก การเปิดเผยข้อมูลที่หวังว่าจะนําไปสู่การลดคอรัปชัน หากเทียบกับ e-commerce แล้ว egovernment คือ G-to-G1 Transaction และมีลักษณะเป็น intranet  มีระบบความปลอดภัย เพื่อทําให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างหน่วยงานของรัฐ ในขณะที่ e-services เทียบได้กับ B-to-G2 และ G-to-C3 Transaction ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อในการให้บริการ โดยภาคธุรกิจกับประชาชนคือผู้รับบริการ
        หลัก e-Government จะเป็นแบบ G2G G2B และ G2C ระบบต้องมีความมันคงปลอดภัยเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานของรัฐ ประชาชนอุ่นใจในการรับบริการและชําระเงินค่าบริการธุรกิจก็สามารถดําเนินการ ค้าขายกับหน่วยงานของรัฐด้วยความราบรื่น อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ที่สําคัญในการให้บริการตามแนวทาง รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์

Chapter 8 E-Marketing

E-Marketing

E-Marketing ย่อมาจากคำว่า Electronic Marketing หรือเรียกว่า “การตลาดอิเล็กทรอนิกส์” หมายถึงการ ดำเนินกิจกรรมทางการตลาดโดยใช้เครืjองมืออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ที่ทันสมัยและ สะดวกต่อการใช้งาน เข้ามาเป็นสื่อกลาง ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ หรือ พีดีเอ ที่ถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกันด้วยอินเทอร์เน็ต มาผสมผสานกับวิธีการทางการ ตลาด การดำเนินกิจกรรมทางการตลาด อย่างลงตัวกับลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมาย เพื่อ บรรลุจุดมุ่งหมายขององค์กรอย่างแท้จริง

ข้อดีของ E-Marketing เมื่อเทียบกับสื่ออื่น
  • เข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายมากกว่า 800 ล้านคน 225 ประเทศ 104 ภาษา
  • สามารถวัดผลได้แม่นยำกว่าสื่ออื่น
  • ราคาลงโฆษณาถูกกว่าเมื่อเทียบกับสื่ออื่น
  • จำนวนผู้ใช้สื่อนี้เพิ่มนึ้เรื่อยๆ
  • คุณภาพของผู้ใช้มีมากกว่าสื่ออื่น 
E-Marketing มีหลายประเภทโดยแบ่งออกได้ดังนี้
Click and Click 
     เป็นการให้บริการบนอินเตอร์เน็ตออย่างเดียว ไม่มีธุรกิจในโลกจริง

Click and Mortar
     เป็นรูปแบบที่มีธุรกิจจริง (Real) อยู่แล้วแต่ขยายมาทำในอินเทอร์เน็ต
 

 
การเริ่มต้นการตลาดออนไลน์ 
 
  • กำหนดเป้าหมาย
  • ศึกษาคู่แข่ง
  • สร้างพันธมิตร
  • ติดตั้งอุปกรณ์ที่จำเป็น
  • ดูแลและปรับปรุงเว็บไซต์






การสร้างเอกลักษณ์ของเว็บไซต์ (Web Identity) 


     การสร้างให้คนรู้จักและจดจำ Brand ของเว็บไซต์คุณก็เหมือนกับสร้างความคุ้นเคยของลูกค้าที่มีต่อ
เว็บไซต์ของคุณ


หลักการมีดังนี้


  • การวางคอนเซพท์ของตัวเว็บไซต์
  • สไตล์การเขียนที่เป็นเอกลักษณ์
  • มีความสอดคล้องกับแบรนด์สินค้าหรือบริการหลักเว็บไซต์ของ Hutch (www.Hutch.co.th)
  • ลักษณะการออกแบบเว็บไซต์
    • การใช้สีสัน
    • การวางรูปแบบบหรือเลย์เอาท์
    • การใช้โลโก้ที่มีความโดดเด่น

     
Banner Advertising 



11 วิธีการออกแบบแบนเนอร์ให้ได้ผล


  1. ขนาดยิ่งใหญ่ยิ่งมีโอกาสการคลิกเยอะ
  2. เปลี่ยนแบนเนอร์บ่อย (1 แคมเปญ ควรมีอย่างน้อยแบนเนอร์ 2 แบบ)
  3. ใช้คำพูดที่จูงใจ ดึงดูดในแบนเนอร์ เช่น “กดที่นี่” “โอกาสสุดท้าย”
  4. ฟรี.! ยังเป็นคำที่มีอนุภาคมากที่สุด
  5. การใช้ภาพเคลื่อนไหว จะมีคนคลิกมากว่าโฆษณาภาพนิ่ง (เคลื่อนไหวอย่างเร็ว)
  6. การใช้เซ็กซ์ช่วย ยังไงคนก็สนใจ
  7. ใช้สีสันโดดเด่น มีคนสนใจมากกว่า สีดำๆ ถมึนๆ
  8. การออกแบบที่ดี
  9. ขนาดไฟล์ของแบนเนอร์ไม่ควรใหญ่จนเกินไป
  10. ทำลิงค์ไปหน้าที่ต้องการหลังจากกดแบนเนอร์
  11. ทดสอบแบนเนอร์ก่อนขึ้นจริงๆ

ทำไมต้องใช้ Search Engine?


  • 85% ของผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตทั่วโลก ใช้ Search Engine 
  • 87% ของผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ต จะหาเว็บไซต์จาก Search Engine (ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจาก Georgia Tech) 
  • 70% ของการซื้อขายอีคอมเมิร์ซเริ่มต้นจากการใช้เสิร์ชค้นหา(Source: Forrester/IAB)
 E-mail Advertising



 E-Mail Marketing การตลาดผ่านอีเมล์
  1. สร้าง Mail Marketing ของตัวเอง
  2. ไปยืมรายชื่อคนอื่นๆส่งBlanketMail.com,Briefme.com,Colonize.com
  3. ยิงมั่ว หรือ SPAM
  4. ไปดูด Email จากแหล่งต่าง website, search engines, whois database

รูปแบบรายได้จากการทำเว็บไซต์

  • ขายโฆษณาออนไลน์
  • ขายสินค้า E-Commerce
  • ขายบริการหรือสมาชิก
  • ขายข้อมูล (Content)
  • การจัดกิจกรรม, งาน
  • การให้บริการผ่านโทรศัพท์มือถือ
  • การรับพัฒนาเว็บไซต์
6 Cs กับความสำเร็จของการทำเว็บ 
  • C ontent (ข้อมูล)
  • C ommunity (ชุมชน,สังคม)
  • C ommerce (การค้าขาย)
  • C ustomization (การปรับให้เหมาะสม)
  • C ommunication, Channel (การสื่อสารและช่องทาง)
  • C onvenience (ความสะดวกสบาย)

Chapter 7 Supply Chain Management & Customer Relationship Management

Supply Chain Management & Customer Relationship Management


การกำเนิดระบบการบริหารซัพพลายเชน กล่าวกันว่า มีต้นแบบมาจาการส่งลำเลียงเสบียงอาหารและอาวุธยุโธปกรณ์ตามระบบส่งกำลัง บำรุงของทหาร โดนเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงสงครามที่ต้องการความมั่นใจว่าอาวุธและเสบียงอาหาร จะต้องจัดส่งให้เพียงพอกับความต้องการและไปยังสถานที่ที่กำหนดอย่างถูกต้อง ตรงตามเวลา เพื่อให้เกิดความสูญเสียน้อยที่สุด จึงจำเป็นต้องอาศัยการวางแผนจัดลำดับก่อนหลังและรักษาประสิทธิภาพในการสื่อ สารที่รวดเร็วแม่นยำ ซึ่งต่อมาแนวความคิดดังกล่าว ได้นำมาพัฒนาและดัดแปลงให้กับธุรกิจการค้าและอุตสาหกรรม เพื่อมุ่งสร้างคุณค่าและความพึงพอใจแก่ลูกค้าด้วยต้นทุนที่ลดลง โดย Helen Peek และคณะได้กล่าวถึงระยะของการเปลี่ยนแปลงธุรกิจเพื่อเข้าสู่กระบวนบริหาร ซัพพลายเชน 4 ระยะคือ

ระยะที่ 1 องค์กรในรูปแบบพื้นฐาน (The Baseline Organization) เป็นรูปแบบการบริหารจัดการแบบดั้งเดิมที่ต้องการสร้างผลกำไรสูงสุดขององค์กร โดยเน้นความชำนาญในการทำงานของแต่ละแผนก/ฝ่าย ซึ่งองค์กรในรูปแบบนี้อาจไมสามารถปรับแผนการผลิตและการจัดหาวัตถุดิบได้ทัน ต่อการเปลี่ยนแปลงในตลาดของผู้บริโภคเนื่องจากแต่ละแผนก/ฝ่าย ต่างทำงานเป็นอิสระต่อกันไม่เกี่ยวกัน

ระยะที่ 2 องค์กรที่รวมหน้าที่ทางธุรกิจเข้าด้วยกัน (The Functionally Integrated Company) ในระยะนี้องค์กรจะเริ่มจัดตั้งบริษัท โดยในองค์กรได้มีการรวบรวมหน้าที่/ลักษณะงานที่เป็นประเภทเดียวกันหรือคล้าย คลึงกันไว้ในกลุ่มงาน/ฝ่ายเดียวกัน ซึ่งจะไม่มีแบ่งแยกหน้าที่ความรับผิดชอบออกจากกันอย่างเด็ดขาดเหมือยระยะแรก เช่น ฝ่ายจัดการวัตถูดิบมีหน้าที่จัดซื้อ จัดสรร ควบคุมการใช้วัตถุดิบและปัจจัยการผลิตอื่น ๆ ฝ่ายการผลิตมีหน้าที่วางแผนการผลิต และควบคุมคุณภาพการผลิต และฝ่ายขายมีหน้าที่วางแผนการตลาดและขายสินค้า เป็นต้น

ระยะที่ 3 องค์กรที่รวมการดำเนินงานภายในธุรกิจไว้ด้วยกัน (The Internally Integrated Company) ในระยะนี้องค์กรมีการพัฒนาและปรับปรุงโครงสร้างองค์กรของตนอย่างต่อเนื่อง จากระยะที่ 2 โดยฝ่ายต่าง ๆ มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันทำให้มีการมีการติดต่อประสานงานเชื่อมโยงระหว่าง ฝ่ายงานมากขึ้น การทำงานจึงมีความต่อเนื่องกันเหมือนพ่วงโว่ นอกจากนี้กิจกรรมการผลิตบางอย่างยังสามารถที่จะใช้ ทรัพยากรร่วมกันภายในองค์กรได้ด้วย ซึ่งเป็นการช่วยลดต้นทุนการผลิตได้ในระดับหนึ่ง เช่น ฝ่ายผลิตกับฝ่ายขายอาจต้องมีการออกสำรวจความจ้องการของผู้บริโภคว่าขณะนี้มี ความต้องการสินค้าประเภทใด ลักษณะใด เพื่อที่จะได้มีการวางแผนการผลิตเพื่อให้เกิดความพึงพอใจสูงสุดแก่ผู้บริโภค

ระยะที่ 4 องค์กรที่รวมการดำเนินงานภายนอกธุรกิจไว้ด้วยกัน (The Externally Integrated Company) ระยะนี้เป็นระยะที่บริษัทก้าวเข้าสู่รูปแบบการบริหารแบบซัพพลายเชนอย่างเต็มตัว โดยบริษัทได้ปรับโครงสร้างการบริหารแบบซัพพลายเชนภายในบริษัทของตนเองไว้เรียบร้อยแล้ว และเริ่มหันมาให้ความสำคัญกับกลยุทธ์การบริหารลูกโซ่อุปทานภายนอก โดยเข้าไปทำงานร่วมกับซัพพลายเออร์ในลักษณะที่เป็นเครือข่ายการทำงานเดียว กัน เพื่อควบคุมคุณภาพการผลิตวั๖ถุดิบ คุณลักษณะของวัตถุดิบและวิธีการผลิตวัตถุดิบในโรงงานของซัพพลายเออร์ และในบางกรณีบริษัทผู้ผลิตอาจเปิดโอกาสซัพพลายเออร์เข้ามาเปิดสถานี หรือโรงงานย่อย เพื่อนำส่งวัตถุดิบให้กับบริษัทได้อย่างสะดวก รวดเร็วและประหยัดต้นทุน  


การบริหารจัดการซัพพลายเชน พิจารณาความสามารถในการประสานระบบงานระหว่างองค์กร
   ใน 3 ส่วนหลัก ได้แก่
          1. ศักยภาพในการประสานระบบการจัดการระหว่างกลุ่ม suppliers (Supply-management interface capabilities)
          2. ศักยภาพในการประสานระบบการจัดการให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า (Demand-management interface capabilities)
          3. ศักยภาพในการประสานระบบการจัดการสารสนเทศ (Information management capabilities)
   ปัญหาของการจัดการซัพพลายเชน
  • ปัญหาจากการพยากรณ์
  • ปัญหาในกระบวนการผลิต
  • ปัญหาด้านคุณภาพ
  • ปัญหาในการส่งมอบสินค้า
  • ปัญหาด้านสารสนเทศ
  • ปัญหาจากลูกค้า
     ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ (e-Business) หรือในบางครั้งเรียกว่า พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce)  เป็นการใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ในกระบวนการทางธุรกิจและการดําเนินงาน ระหว่างธุรกิจกับธุรกิจและระหว่างบุคคลกับธุรกิจ ในธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ (e-Business) จะมีการทําธุรกรรมผ่านสื่อต่างๆ ทางอิเล็กส์ทรอนิกส์ เช่น การสั่งซื อสินค้าทางอินเทอร์เน็ต การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ

การใช้บาร์โค้ด (Barcode) บาร์โค้ดหรือรหัสแท่ง เป็นสัญลักษณ์ที่อยู่ในรูปของแท่งบาร์ โดยจะประกอบไปด้วยบาร์ที่มีสีเข้มและช่องว่างสีอ่อน ซึ่งบาร์เหล่านี้ จะเป็นตัวแทนของตัวเลขและตัวอักษร สามารถอ่านได้ด้วยเครื่อง Scanner  บาร์โค้ดจึงทําหน้าที่ในการจัดเก็บข้อมูลต่างๆ ของสินค้า อาทิ หมายเลขของสินค้า ครั้งที่ทําการผลิต เลขหมายเรียงลําดับกล่องเพื่อการขนส่ง ปริมาณสินค้าที่ผลิต รวมถึงตําแหน่งผู้รับสินค้า เป็นต้น เพื่อให้สามารถควบคุมการหมุนเวียนของสินค้าโดยรวดเร็วขึ้นไม่ว่าจะเป็นการ รับ การจัดเก็บและการจ่ายสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ นับว่ามีประโยชน์อย่างมากในปัจจุบันและที่สําคัญการติดบาร์โค้ดถือเป็นส่วน หนึ่งในการสนับสนุนให้เกิดการจัดการซัพพลายเชน ลดระยะเวลาและความซํ าซ้อนในการทํางาน 


ระบบ ERP (Enterprise Resource Planning) เป็นเทคโนโลยีบริหารกระบวน การธุรกิจโดยเฉพาะการเชื่อมโยง SCM โดยเน้นการบูรณาการกระบวนการหลักของธุรกิจเพื่อสนับสนุนการดําเนินธุรกรรม ประจําวัน และยังสนับสนุนกระบวนการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ (CRM)


ระบบ CRM (Customer Relationship Management) เป็นกลยุทธ์ทางการตลาด อย่างหนึ่งที่องค์กรนํามาใช้เพื่อบริหารความสัมพันธ์ของลูกค้ากับองค์กรตลอด วงจรชีวิตการเป็นลูกค้า ได้แก่ การ
ตลาด การขาย การให้บริการ และการสนับสนุน โดยใช้ทรัพยากรด้านสารสนเทศ กระบวนการ เทคโนโลยี และบุคลากร โดยเน้นการสร้างประสานสัมพันธ์กับลูกค้า หรือ demain chain management  ผ่านการจัดโปรแกรมเพื่อจูงใจลูกค้า เช่น การสะสมคะแนน การให้บริการตอบคําถาม (call center)  การให้สิทธิประโยชน์ หรือส่วนลดต่างๆ เป็นต้น

Chapter 6 Supply Chain Management

Supply Chain Management


Supply Chain Management คือ ระบบที่จัดการการบริหารและเชื่อมโยงเครือข่ายตั้งแต่ suppliers(ผู้ผลิตสินค้า), manufacturers(โรงงานผู้ผลิต), distributors(กระจายสินค้า) เพื่อส่งมอบสินค้าหรือบริการให้ลูกค้า โดยมการเชื่อมโยงระบบข้อมูล วัตถุดิบ สินค้าหรือบริการ เงินทุน รวมถึงการส่งมอบเข้าด้วยกัน เพื่อให้การส่งมอบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสามารถส่งมอบได้ตรงตามเวลาและความต้องการ

สิ่งที่สำคัญของ Supply Chain Management
แม้ว่าการผลิตจะมีความซับซ้อนและมีความเป็นเอกลักษณ์ที่ยากต่อการควบคุม แต่หน้าที่ทางการผลิตของทุกองค์กรจะมีหลักการพื้นฐานต่างๆ เหมือนกัน สิ่งที่จะทำให้เข้าใจถึงหน้าที่ของการผลิตและวิธีการควบคุมการผลิตนั้น เราจะต้องเข้าใจในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวในกระบวนการผลิตอยู่ 2 สิ่งหลักๆ คือ
  • วัตถุดิบ (Materials)
  • สารสนเทศ (Information) 
 การบริหารการผลิตจะมีประสิทธิภาพสูงขึ้นเมื่อกระบวนการผลิตเคลื่อนไหวได้อย่างต่อเนื่องไม่ติดขัด และมีระบบที่ง่ายๆ ไม่ยุ่งยากซับซ้อน ยิ่งมีระบบย่อยหรือแยกส่วนมากเท่าใด ก็จะยิ่งมีปัญหามากขึ้นเท่านั้น

ประโยชน์ของการทำ SCM
  1. การเคลื่อนไหลของวัตถุดิบและสารสนเทศเป็นไปอย่างราบรื่น
  2. ปรับปรุงระดับของสินค้าคงเหลือ
  3. เพิ่มความเร็วได้มากขึ้น
  4. ขจัดความสิ้นเปลืองหรือความสูญเปล่าต่างๆ ในกระบวนการทางธุรกิจให้หมดไปได้
  5. ลดต้นทุนในกิจกรรมต่างๆ ได้
  6. ปรับปรุงการบริการลูกค้า
การบูรณาการในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Integration)

  • การบูรณาการกระบวนการภายในทางธุรกิจให้เป็นแบบไร้รอยตะเข็บ ไร้ความสูญเสีย และมีความยืดหยุ่น ใช้นโยบายการทำงานแบบข้ามสายงาน ลดกระบวนการและขันตอนการทำงานที่ไม่จำเป็น

  • การบูรณาการกับกระบวนการภายนอก นันคือบูรณาการกับกระบวนการของลูกค้าที่สำคัญและผู้จัดหาวัตถุดิบที่สำคัญให้เข้ากับกระบวนการภายในของบริษัทอย่างมีประสิทธิภาพ และไร้รอยตะเข็บ ซึงจะส่งผลให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างยืดหยุ่น และ รวดเร็ว ขณะที่ต้นทุนลดต่ำลง

Chapter 5 E- Commerce

E- Commerce


Electronic Business คือ กระบวนการดำเนินธุรกิจโดยอาศัยเทคโนโลยีเครือข่ายที่เรียกว่า องค์การเครือข่ายร่วม (Internatworked Network) ไม่ว่าจะเป็นการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (ElectronicCommerce) การติดต่อสื่อสารและการทำงานร่วมกัน หรือแม้แต่ระบบธุรกิจภายในองค์กร 


พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electornic commerce) คือ การทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในช่องทางที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การซื้อขายสินค้าและบริการ การโฆษณาผ่านสื่อิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็น โทรทัศน์ วิทยุ หรือแม้แต่อินเทอร์เน็ต เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร โดยการลดบทบาทองค์ประกอบทางธุรกิจลง เช่น ทำเลที่ตั้ง อาคารประกอบการ โกดังเก็บสินค้า ห้องแสดงสินค้า รวมถึงพนักงานขาย พนักงานแนะนำสินค้า พนักงานต้อนรับ เป็นต้น จึงลดข้อจำกัดของระยะทาง และเวลาลงได้
   
ประเภทของ E- Commerce แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ 

1.  กลุ่มธุรกิจที่ค้ากำไร Profits Organization
  • Business-to-Business (B2B)
  • Business-to-Customer (B2C)
  • Business-to-Business-to-Customer (B2B2C)
  • Customer-to-Customer (C2C)
  • Customer-to-Business(C2B) 
  • Mobile Commerce
2.  กลุ่มธุรกิจที่ไม่ค้ากำไร Non-Profit Organization
  • Intrabusiness (Organization) E- Commerce
  • Business-to-Employee (B2E)
  • Government-to-Citizen (G2C)
  • Collaborative Commerce (C-Commerce)
  • Exchange-to-Exchange (E2E)
  • E-Learning



E-Commerce Business Model หมาถึง วิธีการดำเนินการทางธุรกิจที่ช่วยสร้างรายได้ อันจะทำให้บริษัทอยู่ต่อไปได้ นอกจากนี้ยังรวมถึงกิจกรรมที่ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Add) ให้กับสินค้าและบริการ เป็นวิธีการที่องค์กรคิดค้นขึ้นมาเพื่อประยุกต์ใช้ทรัพยากรขององค์กรอย่างเต็มที่ อันจะก่อให้เกิดผลกำไรสูงสุดและเพิ่มมูลค่าของสินค้าและบริการ
   
ธุรกิจที่หารายได้จากค่าสมาชิก ธุรกิจในกลุ่มนี้หลายรายเป็นธุรกิจที่ได้กำไรแล้วเนื่องจากรายได้จากค่า สมาชิกเป็นรายได้ที่มีความมั่งคงกว่ารายได้จากแหล่งอื่น เช่น รายได้จากการโฆษณาหรือค่านายหน้า อย่างไรก็ตาม ปัจจัยในความสำเร็จของธุรกิจที่จะสามารถหารายได้จาก ค่าสมาชิกได้ก็คือ การมีสารสนเทศหรือบริการที่มีคุณภาพที่ดี พอที่จะทำให้ลูกค้ายอมจ่ายค่าสมาชิกดังกล่าว เช่น ต้องมีสารสนเทศที่แตกต่างจากผู้ประกอบการรายอื่น (Wall Street Journal หรือ Business Online) หรือใช้กลยุทธ์ทางการตลาดมการรักษาฐานลูกค้าไว้ เช่น AOL รักษาฐาน,ุกค้าของตนด้วยหมายเลขอีเมลล์หรือหมายเลข ICQ ซึ่งลูกค้าที่ใช้บริการไปแล้วระยะหนึ่งไม่ต้องการเปลี่ยนแปลง ธุรกิจที่มีรายได้จากสมาชิกยังสามารถใช้ฐานลูกค้าของตนที่มีอยู่ขยายต่อ ไปยังธุรกิจต่อเนื่องอื่นๆ เช่น AOL ใช้ฐานสมาชิกของตนในการหารายได้จาการโฆษณาออนไลน์ และธุรกิจค้าปลีก

ธุรกิจที่หารายได้จากการโฆษณา ในช่วงหลังธุรกิจ E-Commerce ที่หวังหารายได้จากการโฆษณาซบเซาลงไปมากเนื่องจากการเข้าสู่ตลาดดังกล่าวทำได้ง่าย ทำให้จำนวนพื้นที่โฆษณาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งมีผลทำำให้เกิดการแข่งขันอย่างรุนแรง และมีผลกระทบต่อรายได้ของผู้ประกอบการแทบทุกราย นอกจากนี้ การจัดทำเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาดึงดูุให้ผู้ใช้เข้ามาใช้ตองอาศัยการลงทุนสูง และจำเป็นต้องทำการตลาดและการประชาสัมพันธ์หผ่าน สื่อต่างๆมาก ปัจจัยในความสำเร็จของธุรกิจในกลุ่มนี้จึงได้แกการสร้างจุดเด่นที่แตกต่าง จากธุรกิจในแนวเดียวกัน ในขณะที่สามารถควบคุมต้นทุนได้ ตัวอย่างของธุรกิจที่หารายได้จากการโฆษณาที่ยังสามารถทำกำได้ได้ คือ Yahoo ซึ่งเป็นเว็บทำ (Portal Site) ที่มีชื่อเสียงมานานและมีต้นทุนในการสร้างเนื้อหาน้อย เนื่องจากใช้วิธีการเชื่อมโยงไปยังเนื้อหาของผู้อื่น
 
ธุรกิจตลาดประมูลออนไลน์ ธุรกิจประเภทนี้มีรูปแบบการหารายได้ทั้งในแบบ B2C ซึ่งหารายได้จากการจำหน่ายสินค้าส่วยเกินของบริษํทโดยไม่เกิดความขัดแย้งกับ ช่องทางเดิม นอกจากนี้ตลาดประมูลแแนไลน์ยังช่วยให้ธุรกิจสามารถการาคามราเหมาะสมของ สินค้า รูปแบบธุรกิจตลาดประมูลออนไลน์อีกประเภทหนึ่งคือแบบ C2C ธุรกิจในกลุ่มนี้จะหารายได้จากค่านายหย้าในการให้บริการตลาดประมูล ซึ่งช่วยจับคู่ซื้อและผู้ขายเข้าด้วยกัน ตัวอย่างของธุรกิจตลาดประมูลดังกล่าว คือ E-Bay ซึ่งเป็นตลาดประมูลออนไลน์ที่มีชื่อเสียง ปัจจัยใความสำเร็จของธุรกิจประมูลแบบ B2C คือ ความสามารถในการหาสินค้าที่มีคุณภาพดีแต่มีต้นทุนต่ำมาประมูลขาย ซึ่งจำเป็น ต้องอาศัยการมีพันธมิตรรายใหญ่ที่มีสินค้าเหลือจำนวนมาก ส่วนปัจจัยในความสำเร็จของธุรกิจประมูลแบบ C2C คือ ความสามารถในการสร้างความภักดีของลูกค้าและป้องกันการฉ้อโกงระหว่างผู้ซื้อ และผู้ขาย


   ข้อดีของ E- Commerce
  • สามารถเปิดดำเนินการได้ตลอด 24 ชั่วโมง
  • สามรถดำเนินการค้าขายได้อย่างอิสระทั่วโลก
  • ใช้ต้นทุนในการลงทุนต่ำ
  • ไม่ต้องเสียค่าเดินทางในระหว่างการดำเนินการ
  • ง่ายต่ิอการประชาสัมพันธ์ และยังสามารถประชาสัมพันธ์ในครั้งเดียวแต่ไปได้ทั่วโลก
  • สามารถเข้าถึงลูกค้าที่ใช้บริการอินเทอร์เน็ตได้ง่าย
  • ประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลาสำหรับผู้ซื้อและผู้ขาย
  • ไม่จำเป็นต้องเปิดร้ายขยสินค้าจริง
   ข้อเสียของ E- Commerce
  • ต้องมีระบบการรักษาความปลอกภัยของระบบที่มีประสิทธิภาพ
  • ไม่สามารถเข้าถึงลูกค้าที่ไม่ได้ใช้อินเทอร์เน็ตได้
  • ขาดความเชื่อมั่นในเรื่องการชำระเงินผ่านทางบัตรเครดิต
  • ขาดกฎหมายรองรับในเรื่องการดำเนินการธุรกิจสินค้าแบบออนไลน์
  • การดำเนินการทางด้านภาษียังไม่ชดเจน


Chapter 4 E-business Strategy

E-business Strategy
ความหมายของ E-Strategy
วิธีการที่จะทําให้กลยุทธ์ขององค์กรบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ โดยการนําการสื่อสารผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้งาน ทั้งการสื่อสารภายในองค์กร และ การสื่อสารภายนอกองค์กร

Business Strategy คือ กลยุทธ์ที่จะเชื่อมให้ แบบจําลองทางธุรกิจ เป็นจริงได้ ทํายังไงให้ การสร้าง มูลค่า นั้นเป็นจริงได้ แล้วทํายังไงที่จะส่ง มูลค่า นั้นให้กับลูกค้าได้ดีที่สุด และทํายังไงให้มันแตกต่าง การทําธุรกิจด้านอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ใช้เพียงแค่การสร้างธุรกิจออนไลน์ แต่เป็นการสร้างธุรกิจที่มีความแตกต่าง ตัวแบบขั้นตอนกลยุทธ์หลักในการทํา ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ทั้ง 4 ขั้นตอนดังนี้



  1. Strategic evaluation : กลยุทธ์การประเมิน
  2. Strategic objectives : กลยุทธ์การวางแผนวัตถุประสงค์
  3. Strategy definition : กลยุทธ์การกําหนดนิยาม
  4. Strategy implementation : กลยุทธ์การดําเนินงาน

กลยุทธ์ของธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ (E-Business Strategies)
กลยุทธ์ เป็นตัวกําหนดทิศทางและการดําเนินงาน ด้านต่างๆ ขององค์กร กลยุทธ์เป็นเสมือนกับเหตุผลและความมุ่งหมายขององค์กร ไม่เพียงแต่กลยุทธ์เท่านั้นที่สําคัญ แต่การวางแผนและการลงมือจําเป็นไม่แพ้กัน สรุปปัจจัยสําคัญของกลยุทธ์ที่สามารถนํามาใช้ได้

 ซึ่งก็คือ            
  •   ขึ้นอยู่กับสิ่งที่เป็นอยู่ในตลาดขณะนี้หรือไม่
  •   กําหนดนิยามว่าจะไปถึงวัตถุประสงค์ที่วางไว้อย่างไร
  •   กําหนดการจัดสรรทรัพยากรเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
  •   เลือกกลยุทธ์ที่เหมาะสมเพื่อที่จะได้เปรียบคู่ค้าในตลาด
  •   จัดหาแผนงานระยะยาวเพื่อพัฒนาองค์กร

 
รูปแบบที่แตกต่างกันของกลยุทธ์ขององค์กร
ความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์ e-business และกลยุทธ์อื่น ๆ

 

E-channel Strategies E-Channel ย่อมาจาก electronic channels คือ การสร้างช่องทางใหม่ๆ ในการกระจายสินค้า ทั้งจากลูกค้าและคู่ค้า โดยที่ชองทางทางอิเล็กทรอนิกส์ สามารถกําหนดวิธีการที่ใช้ทํางานร่วมกับช่อง ทางอื่นๆจากหลายช่องทางของกลยุทธ์ E-Business
Multi-Channel e-Business Strategy กลยุทธ์หลายช่องทาง e-business เป็นการกําหนดวิธีการทางการตลาดที่แตกต่าง และ ช่องทางของห่วงโซ่อุปทาน ดังนั้นจึงควรมีการบูรณาการ และ ทุกๆกลยุทธ์ควรจะสนับสนุนซึ่งกัน




Strategy process models for e-business


Strategy process models for e-business
  • Strategy Formulation
  • Strategic Implementation
  • Strategic Control and Evaluation

Strategy Formulation 
  • การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกเพือหาโอกาสและภัยคุกคาม โดยพิจารณา ในแง่ต่างๆ เช่น การเมือง เศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี การต่างประเทศ ตลาด ลูกค้า คู่แข่ง ผู้สนับสนุน วัตถุดิบ และตลาดแรงงาน ฯลฯ
  • การวิเคราะห์สถานการณ์ภายในเพือหาจุดแข็งและจุดอ่อน เช่น ความสามารถ ด้านการตลาด การผลิต การเงิน สารสนเทศ กฎระเบียบ การจัดการ และ ทรัพยากรบุคคล ฯลฯ
  • การกําหนดหรือทบทวนวิสัยทัศน์และภารกิจขององค์การเพื อกําหนดให้แน่ชัดว่า
    • องค์การของเราจะมีลักษณะเช่นใด
    • มีหน้าที่ บริการอะไร แก่ใครบ้าง
    • โดยมีปรัชญา หรือค่านิยมหลักในการดําเนินการเช่นใด
  • การกําหนดวัตถุประสงค์ขององค์การในระยะของแผนกลยุทธ์
  • การวิเคราะห์และเลือกกําหนดกลยุทธ์และแนวทางพัฒนาองค์การ
Strategic Implementation
  • การกําหนดเป้าหมายการดําเนินงาน
  • การวางแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ที่ระบุกิจกรรมต่างๆ ที่จะต้องดําเนินการ
  • การปรับปรุง พัฒนาองค์การ เช่น ในด้านโครงสร้าง ระบบงาน ทรัพยากรบุคคล วัฒนธรรมองค์การและ ปัจจัยการบริการต่างๆ ในองค์การ
Strategic Control and Evaluation
  • การติดตามตรวจสอบผลการดําเนินงานตามแผนกลยุทธ์  
  • การติดตามสถานการณ์และเงื่อนไขต่างๆ ที่อาจเปลี่ยนแปลงไปซึ่งอาจทําให้ต้องมีการปรับแผนกลยุทธ์



วันจันทร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2556

Chapter 3 E- Environment

Business Environment




สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ จึงสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลักๆ ด้วยกัน ได้แก่
  1. สภาพแวดล้อมภายในธุรกิจ (Internal Environment) คือ สภาวะแวดล้อมที่ธุรกิจสามารถควบคุมได้ หมายถึง ปัจจัยต่าง ๆ ที่ธุรกิจสามารถกำหนด และ ควบคุมได้เป็นไปตามความต้องการของธุรกิจถือว่าเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อโปรแกรมการตลาด โดยการวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อนของธุรกิจ ในการนำไปเปรียบเทียบกับคู่แข่งขัน
  2. สภาพแวดล้อมภายนอกธุรกิจ (External Environment) ภาวะแวดล้อมที่ธุรกิจไม่สามารถควบคุมได้ ปัจจัยกลุ่มนี้ หมายถึง ปัจจัยยังคับภายนอกธุรกิจที่มีอิทธิพลต่อระบบการตลาด ถือว่าเป็นปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้แต่มีอิทธิพลต่อระบบการตลาดคือสร้างโอกาสหรืออุปสรรคแก่ธุรกิจ ซึ่งประกอบด้วยสิ่งแวดล้อมจุลภาค และสิ่งแวดล้อมมหภาค
สภาพแวดล้อมภายนอกธุรกิจระดับจุลภาค (Micro External Environment)
คือ ภาวะแวดล้อมภายนอกที่ธุรกิจไม่สามารถ ควบคุมได้ แต่สามารถเลือก ที่จะติดต่อและเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม
  1. ตลาด หรือลูกค้า (Market)
  2. ผู้ขายปัจจัยการผลิตหรือวัตถุดิบ (Suppliers)
  3. คนกลางทางการตลาด (Marketing Intermediaries)
  4. สาธารณชนและกลุ่มผลประโยชน์ (Publics)
สภาพแวดล้อมภายนอกธุรกิจระดับมหภาค (Macro External Environment)
คือ สภาพแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินธุรกิจและต่อระบบการตลาดเป็นอย่างมาก แต่ละหน่วยงานและองค์กรธุรกิจไม่สามารถควบคุมการเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ แบ่งออกได้เป็น 4 ประการ ได้แก่
  1. ด้านการเมืองและกฎหมาย
  2. เศรษฐกิจ
  3. สังคม
  4. เทคโนโลยี
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อการบริหารธุรกิจ


S (Strengths) จุดแข็ง
เป็นปัจจัยภายในที่ส ามารถควบคุมได้ตามศักยภาพของธุรกิจที่มีอยู่ จุดแข็งนี้จะก่อให้เกิดผลดีต่อธุรกิจ ซึ่งส่งผลมาจากการบริหารงานภายในระหว่างผู้บริหารและบุคลากร หรืออาจมาจากความได้เปรียบในด้านทรัพยากรทางการบริหารต่างๆ เช่น มีสถานภาพทางการเงินที่มั่นคง ที่ตั้งอยู่ใกล้ทั้งแหล่งวัตถุดิบและแหล่งจัดจำ หน่าย บุคลากรมีประสบการณ์และความสามารถสูง ฯลฯ

W (Weaknesses) จุดอ่อน
เป็นปัจจัยภายในที่เกิดจากปัญหาภายในธุรกิจ อันเนื่องมาจากการบริหารงานที่ผิดพลาด ข้อจำกัดบางประการของศักยภาพทางธุรกิจ ปัญหาเหล่านี้จะส่งผลร้ายถ้าไม่รีบดำเนินการแก้ไข เช่น ขาดสภาพคล่องทางการเงิน สินค้าที่ผลิตออกมามีคุณภาพ ไม่คงที่ ขาดการประสานงานที่ดีภายในองค์กร ฯลฯ

O (Opportunities) โอกาส
เป็นปัจจัยภายนอกที่ธุรกิจไม่สามารถเข้าไปควบคุมให้เกิดหรือไม่เกิดขึ้นได้ แต่เป็นสภาวการณ์แวดล้อมอันส่งผลดีให้กับธุรกิจโดยบังเอิญ เช่น กลุ่มลูกค้าเป้าหมายมีรายได้เพิ่มขึ้น นโยบายของรัฐให้การสนับสนุนธุรกิจประเภทนี้ สินค้าของคู่แข่งมีคุณภาพต่ำฯลฯ

T (Threats) อุปสรรค
เป็นปัจจัยภาย นอกที่ธุรกิจไม่สามารถเข้าไปควบคุมให้เกิดหรือ ไม่เกิดขึ้นได้ และเป็นสภาวการณ์แวดล้อมอันเลวร้ายที่ส่งผลกระทบให้ธุรกิจเสียหาย เช่น รัฐบาลขึ้นภาษี ปัญหาสภาพเศรษฐกิจตกต่ำ วัตถุดิบมีราคาสูงขึ้นเกิดภัยสงครามหรือภัยธรรมชาติ ฯลฯ

การวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ด้วย TOWS Matrix

กลยุทธ์เชิงรุก (SO Strategy)
เป็น การใช้จุดแข็งบนโอกาสที่มี ได้มาจากการนำข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อมที่เป็นจุดแข็งและโอกาสมาพิจารณาร่วมกัน เพื่อที่จะนำมากำหนดเป็นยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์ในเชิงรุก




กลยุทธ์เชิงป้องกัน (ST Strategy)
เป็นการใช้จุดแข็งป้องกันอุปสรรค ได้มาจากการนำข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อมที่เป็น จุดแข็งและข้อจำกัดมาพิจารณาร่วมกัน เพื่อที่จะนำมากำหนดเป็นยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์ในเชิงป้องกัน



กลยุทธ์เชิงแก้ไข (WO Strategy)
เป็นการขจัดจุดอ่อนโดยใช้โอกาส ได้มาจากการนำข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อมที่เป็นจุดอ่อนและโอกาสมาพิจารณาร่วมกัน เพื่อที่จะนำมากำหนดเป็นยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์ในเชิงแก้ไข



กลยุทธ์เชิงรับ (WT Strategy)
เป็น การขจัดจุดอ่อนป้องกันอุปสรรค ได้มาจากการนำข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อมที่เป็นจุดอ่อนและข้อจำกัดมาพิจารณาร่วมกัน เพื่อที่จะนำมากำหนดเป็นยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์ในเชิงรับ




E-Environment

Social Factor
สภาวะแวดล้อมทางสังคมเป็น ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคอย่างมาก เนื่องจากโครงสร้างทางสังคมประกอบไปด้วย ครอบครัว ชุมชน ไปจนถึงระดับประเทศ ซึ่งในแต่ละสังคมก็จะมีทัศนคติทางสังคม ค่านิยม และวัฒนธรรม ที่ แตกต่างกันออกไป โดยขึ้นอยู่กับการเปลี่ยน แปลงทางด้านประชากร บทบาทหรือสถาน ภาพของบุคคลและระดับชนชั้นทางสังคม ภูมิศาสตร์หรือกายภาพรอบๆ ธุรกิจ สภาพ ของ ดิน น้ำ แร่ธาตุ หรืออากาศ

Political and Legal Factor
สภาวะแวดล้อมทางการเมืองและกฎหมาย เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อนโยบายประกอบธุรกิจของประเทศ โดย เฉพาะประเทศไทยซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลแบบผสมผสานพรรคบ่อยๆ นักลงทุนทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติจะอ่อนไหวกับปัจจัยทาง การเมือง เพราะเกี่ยวข้องกับกฎหมายและมาตรการต่างๆ

Economic Factor
สภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจ(Economic) เศรษฐกิจเป็นเครื่องบ่งชี้ให้เห็นปริมาณการจัดสรรและการใช้ทรัพยากร ปัจจัยทางเศรษฐกิจมีแรงผลักดันที่สำคัญต่อการดำเนินงานขององค์กรธุรกิจ

Technological Factor
สภาวะแวดล้อมทางเทคโนโลยี ปัจจุบันเป็นยุคความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่ส่งผลกระทบต่อทิศทางและความก้าวหน้าขององค์กรธุรกิจเช่น การใช้หุ่นยนต์เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต การใช้ชุดคำสั่ง (Software) เพื่อช่วยการจัดการทรัพยากรมนุษย์ และการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดระบบบัญชีให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การนำเทคโนโลยี เครื่องมืออุปกรณ์ที่ทันสมัยมาใช้แทนแรงงานของคน ส่งผลให้องค์กรต้องลดจำนวนพนักงานลงและต้องเพิ่มประสิทธิภาพพนักงานที่เหลือ มาตรการเหล่านี้จะส่งผลกระทบไปถึงสถานที่ ห้องทำงาน ลักษณะงาน ค่าจ้าง และสวัสดิการต่างๆ